สิว เป็น โรคผิวหนัง ชนิดหนึ่งที่ทำให้คุณขาดความมั่นใจ จึงควร รักษาสิว ให้ถูกวิธี
ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย และมีความสำคัญไม่แพ้อวัยวะส่วนอื่นๆ เพราะผิวหนังเป็นประการด่านแรกที่ปกป้องอันตรายต่างๆ จากภายนอกและยังช่วยปรับสมดุลภายในของร่างกายอีกด้วย ดังนั้นการมีสุขภาพดีหรือไม่นั้น ผิวหนังย่อมมีบทบาทสำคัญเช่นกัน
ปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคผิวหนังมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งจากมลพิษ สารเคมีในสิ่งแวดล้อม และจากการทำงาน ซึ่งโรคผิวหนังส่วนใหญ่ถึงแม้จะไม่รุนแรงถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้ป่วยไม่น้อย โดยเฉพาะโรคที่เป็นๆ หายๆ ที่ก่อให้เกิดความรำคาญ หงุดหงิด หรือส่งผลต่อความสวยงาม ทำให้ขาดความมั่นใจ กลัวสังคมรังเกียจ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้กระทบการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย และส่งผลเสียต่อจิตใจในระยะยาวอีกด้วย ซึ่งต่อไปนี้เราจะกล่าวถึง สิว ซึ่งจัดได้ว่าเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง สิว เป็นกันมากในวัยรุ่น ซึ่งมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
สิว
สิว เป็นการอักเสบของระบบต่อมไขมัน(Sebaceous)ในรูขุมขนซึ่งปกติไขมันที่สร้างจากต่อมไขมันจะออกมาตามเส้นขนหากมีการอุดตันของทางเดิน ก็จะทำให้เกิด สิว และหากมีเชื้อแบคทีเรียก็จะทำให้เกิดการอักเสบ
สาเหตุของการเกิด สิว - พันธุกรรม พบว่าถ้าบิดาหรือมารดาเป็น สิว รุนแรง โอกาสที่บุตรจะเป็น สิว ขั้นรุนแรงมีถึงหนึ่งในสี่ - ฮอร์โมนโดยเฉพาะอย่างยิ่งฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งนอกจากระดับของฮอร์โมนที่สูงขึ้นในช่วงวัยรุ่นแล้ว พบว่าบางครั้งยังเกิดจากความไวต่อการตอบสนองของตัวรับสัญญาณฮอร์โมนที่ผิวหนังอีกด้วย - การขับของซีบัม(Sebum)หรือไขมันที่มากเกินไป ร่วมกับการอุดตันของเซลล์ผิวหนังชั้นบนสุด และการอักเสบที่สัมพันธ์กับเชื้อแบคทีเรียชนิด P.Acne
ประเภทและความรุนแรงของ สิว ประเภทของ สิว ลักษณะร่องรอย สิว ที่พบได้บ่อยแบ่งเป็นสี่ประเภทคือ - สิวอุดตัน (Comedones) - สิวอักเสบ (Papules) - สิวหัวหนอง (Pustules) - สิวหัวช้าง (Nodules)มักพบบริเวณที่มีต่อมไขมันหนาแน่นคือ ใบหน้า อก และส่วนหลังช่วงบน บางครั้งอาจพบที่หนังศีรษะได้
การรักษา สิว สิว เป็น โรคผิวหนัง เรื้อรังที่ไม่มีสูตรตายตัวในการรักษา ต้องคำนึงถึงประเภทของ สิว ความรุนแรงและความเหมาะสมต่อผิวของแต่ละคน รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ของผู้เป็น สิว ร่วมด้วย แนวทางการรักษา มีดังนี้
รักษาสิว โดยใช้กลุ่มยาอนุพันธุ์ของวิตามินเอ - ยาทากลุ่มเรตินอยด์(Retinoid)เป็นยาหลักที่สำคัญที่สุดสำหรับการ รักษาสิว ในปัจจุบัน โดยช่วยลดการขับซีบัมส่วนเกิน ลดการอุดตัน และยังมีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบของ สิว ด้วย ข้อเสียของยาในกลุ่มนี้คือ ทำให้เกิดการระคายเคือง ผิวแดง หรือลอกเป็นขุนได้บ่อย ซึ่งอาจป้องกันโดยทายาในปริมาณน้อยๆ เริ่มจากทายาเพียงคืนเว้นคืนก่อน - ยารับประทาน Isotretinoin เป็นยารับประทานในกลุ่มอนุพันธุ์ของวิตามินเอ ออกฤทธิ์ในลักษณะเดียวกับยาทา แต่ยับยั้งการขับของซีบัมและยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย P.Acnes ได้ดีกว่า แต่เนื่องจากมีผลข้างเคียงหลายประการ จึงเหมาะกับผู้ที่มี สิว ขั้นรุนแรงเท่านั้น ผลข้างเคียงรุนแรง เช่น ทำให้เด็กในครรภ์พิการแต่กำเนิดได้หากรับประทานในขณะตั้งครรภ์ เอนไซม์ตับสูงขึ้น และผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย เช่น ปากแห้ง ตาแห้ง เลือดกำเดาไหล เป็นต้น
รักษาสิว โดยใช้กลุ่มยาปฎิชีวนะ - ยาปฎิชีวนะแบบทา ช่วยลดปริมาณเชื้อแบคทีเรีย P.Acnes ที่ผิวหนังส่งผลให้เกิด สิวอักเสบ ลดลง โดยยาที่ใช้กันมากคือ ยาอิริโทรมัยซิน(Erytromycin)และคลินดามัยซิน(Clindamycin)ปัจจุบันมีการใช้ยาผสมระหว่าง Benzoyl Peroxide และ Erytromycin หรือ Clindamycin พบว่าช่วยลดอัตราเชื้อดื้ยา และได้ผลการ รักษาสิว ที่ดีขึ้น ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในยากลุ่มนี้คือ การระคายเคืองที่ผิวหนัง - ยาปฎิชีวนะแบบรับประทาน ได้ผลเช่นเดียวกับแบบทา แต่มักเห็นผลได้เร็วกว่า ข้อเสียคือ ทำให้เกิดการดื้อยาหรือเชื้อดื้อยาได้มากกว่า และมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้มากกว่า ซึ่งขึ้นกับแต่ละชนิดของยาปฎิชีวนะนั้นๆ ยาปฎิชีววะที่ถูกนำมาใช้ รักษาสิวอักเสบ กันมากคือ ดอกซีไซคลิน(Doxycycline) อิริโทรมัยซิน (Erytromycin) มิโนไซคลิน (Minocycline) และเตตราไซคลีน (Tetracycline)
รักษาสิว โดยใช้กลุ่มยาฮอร์โมน - ยาเม็ดคุมกำเนิด ที่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชาย (Anti-androgen) ถูกนำมาใช้ในการ รักษาสิว ที่เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน ได้ผลดีในบางราย แต่อาจมีผลข้างเคียงจากฤทธิ์ของฮอร์โมน เช่น น้ำหนักขึ้น ปวดศีรษะ บวมน้ำ และห้ามรับประทานในผู้ที่มีประวัติโรคเลือดแข็งตัวง่าย โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งเต้านม และ โรคตับ - ยากลุ่ม สไปโรโนแลคโตน (Spironolactone) เป็นยาขับปัสสาวะที่ใช้รักษา โรคความดันโลหิตสูง แต่มีฤทธิ์ต้านฮอร์โมนเพศชายด้วย จึงถูกนำมาใช้ รักษาสิว ที่เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน โดยใช้ในปริมาณยาที่ต่ำกว่าการรักษา ความดันโลหิตสูง ไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหา ความดันโลหิตต่ำ ผู้สูงอายุ ผลข้างเคียงจากยาคือปัสสาวะบ่อย และอาจมีการเสียสมดุลของเกลือแร่ใสร่างกายได้
รักษาสิว โดยการผลัดเซลล์ผิวด้วยกรดผลไม้ กรดผลไม้หรือเอเอชเอ (Fruit Acid หรือ AHA - Alpha Hydroxyl Acid) เข้มข้น มีคุณสมบัติช่วยผลัดเซลล์ผิวหนังกำพร้าชั้นบน ช่วยลดความหนืดเกาะตัวกันของหนังกำพร้า จึงส่งผลลดการอุดตันของซีบัมได้ดี ในบางการศึกษาพบว่าช่วยลด สิวอักเสบ ได้ดีเช่นกัน กรดผลไม้ที่ถูกนำมาใช้บ่อยคือไกลโคลิค (Glycolic Acid) และซาลิไซลิค (Salicylic Acid) การ รักษาสิว ด้วยวิธีนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หากนำมาใช้เองโดยเทคนิคที่ไม่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อ ดวงตา ผิว และเป็นแผลเป็นถาวรได้
รักษาสิว โดยการกด สิว การกด สิว เป็นวิธีการ รักษาสิว ที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณจวบจนปัจจุบัน ซึ่งการกด สิว มีความเสี่ยงต่อการเกิดรอยช้ำหรือแผลเป็นได้ หากเทคนิคหรือเครื่องมือที่ใช้ไม่เหมาะสม
รักษาสิว โดยการใช้เลเซอร์/แสง เพื่อลดการอุดตัน และอักเสบของ สิว รักษาสิว ด้วยวิธีนี้ต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการ รักษาสิว โดยเฉพาะ ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังเกี่ยวกับ สิว หรือ มีปัญหาเรื่อง สิว ควรปรึกษาและรับการ รักษาสิว จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สิว โดยเฉพาะ เท่านั้น
วิธีดูแลตนเอง 1. ห้ามแกะหรือกด สิว ด้วยตนเองเพราะการกด สิว ที่ไม่ถูกวิธีและการแกะ สิว มักก่อให้เกิดแผลเป็นโดยเฉพาะ หลุมสิว 2. การเลี่ยงอาหารที่มีค่าไกลซีมิกอินเด็กซ์สูง (Glycemic Index) คือตัวบ่งชี้ว่าอาหารชนิดใดเมื่อกินแล้วส่งผลให้มีน้ำตาลกลูโคลสในเลือดสูงทันที เช่น เค้ก คุกกี้ ขนมหวาน รวมถึงนมวัว อาหารทะเล และอาหารไขมันทรานส์สูง (Trans Fat หรือ Trans Fatty Acid คือ ไขมันที่มีส่่วนผสมของไฮโดรเจน) เช่น เนยเทียม ครีมเทียม บางชนิด ฟาสต์ฟู๊ด อาหารทอด และอาหารสำเร็จรูปบางชนิดให้ผลไม่ดีกับผู้ที่มีปัญหา สิว 3. นอนหลับผักผ่อนให้เพียงพอ หากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอจะส่งผลให้ระบบฮอร์โมนทำงานไม่สมดุล และมีปริมาณสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น 4. ฝึกผ่อนคลายความเครียด ด้วยการนั่งสมาธิหรือการฝึกการหายใจ (Breathing Exercise) 5. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าที่ระบุว่าไม่เป็นตัวก่อ สิว "Non-Comedogenic" และเสี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมัน(Oil-Based)เป็นส่วนประกอบหลัก 6.ล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง ไม่จำเป็นต้องล้างบ่อยจนเกินไปเพราะ สิว ไม่ได้เกิดจากความสกปรกอย่างที่เข้าใจกันแต่อย่างใด แต่สำหรับในคนที่หน้ามันมากอาจล้างเพิ่มระหว่างวันด้วยน้ำเปล่า ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการเสียสมดุลของค่ากรดด่างของผิวหนัง (pH)และเซลล์ชั้นปกป้องผิวแต่อย่างใด
ป้องกัน สิว ได้อย่างไร เมื่อดูจากปัจจัยเสี่ยงการป้องกัน สิว เต็มร้อยเป็นไปได้ยาก แต่อาจลดโอกาสเกิด สิว ให้น้อยลงได้โดย - ใช้เครื่องสำอางค์ชนิดมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก (Water-Based) และเป็นชนิดที่ไม่ก่อ สิว (Non-Comedogenic) หลีกเลี่ยงการใช้ชนิดมีน้ำมันเป็นส่วนประกอบหลัก (Oil-Based) - ไม่ควรล้างหน้าเกินวันละ 2 ครั้ง เพราะการล้างหน้าบ่อยๆ ก่อการระคายเคืองต่อเซลล์ผิวหน้าอาจเป็นปัจจัยให้เกิด สิว ได้ - ไม่ใช้เครื่องสำอางค์รองพื้นที่หนาเกินไป - ล้างเครื่องสำอางค์ใบหน้าออกให้สะอาดก่อนนอนเสมอ เพราะเป็นสาเหตุก่อการอุดตันของซีบัม - ไม่แกะ สิว หรือสัมผัสใบหน้าบ่อยๆ เพราะเพิ่มโอกาสผิวติดเชื้อแบคทีเรีย - ฝึกผ่อนคลายความเครียด - พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อช่วยให้ระบบฮอร์โมนของร่างกายทำงานได้อย่างมีสมดุล - เมื่อเคยพบแพทย์เครื่อง สิว ควรปฎิบัติต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ขอบคุณข้อมูลที่มีประโยชน์จาก : Pure Pharmacy(ดูแลโรคผิวหนัง เพื่อผิวสุขภาพดี)
แนะนำ ผลิตภัณฑ์ โฟมล้างหน้า ชื่อ Cleanser de finn (คลีนเซอร์ เดอร์ ฟินน์) ผิวกระจ่างใส ลดสิว ลดริ้วรอย ก่อนวัยด้วยGold Nano
コメント