top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียน

โรคเก๊า อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคเก๊าท์

โรคเก๊า

โรคเก๊าท์ เป็นโรค ข้ออักเสบ ชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการสะสมของผลึกกรดยูริกภายในข้อ ซึ่งเป็นผลจากการมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเป็นเวลานาน โรคเก๊าท์ เป็นโรคเรื้อรัง ที่อาจมีปัจจัยทางกรรมพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้อง มักเกิดในเพศชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ข้อที่มักพบการอักเสบจาก โรคเก๊าท์ ได้บ่อย เช่น ข้อโคนหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า ข้อมือ เป็นต้น

ตามที่กล่าวมาข้างต้นว่า โรคเก๊า เป็นโรคที่เกี่ยวกับ ข้ออักเสบ ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริกภายในข้อ จึงทำให้เกิดการอักเสบ กรดยูริกในร่างกายส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากขบวนการสร้างเซลล์ของร่ากายและเกิดจากการย่อยอาหารซึ่งมีสารจำพวกพิวรีนอยู่ เช่น ไต มอง หัวใจและกระเพาะอาหารของสัตว์ กรดยูริกที่เกิดขึ้นล้วนเป็นของเสียที่ถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะผู้ป่วย โรคเก๊า ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์และเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ดังนั้นคุณผู้ชายทั้งหลายก็ดูแลร่างกายให้ดีอย่าให้เป็น โรคเก๊า น๊ะจร้า เราได้กล่าวถึงกรดยูริกมาพอสมควรแล้ว ต่อไปเราทำความรู้จักเจ้ากรดยูริกกันดีกว่าคืออะไรกันแน่

กรดยูริก คืออะไร กรดยูริก เกิดจากสารพิวรีน ที่มีอยู่ในโปรตีนทุกชนิด กรดยูริกในร่างกายได้จาก 2 ทาง คือ - จากอาหารที่รับประทาน ประมาณร้อยละ 20 ได้จากอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่รับประทาน ซึ่งจะถูกย่อยสลายจนเกิดเป็นกรดยูริก - จากร่างกายสร้างขึ้นเอง ประมาณร้อยละ 80 ได้จากการสลายเซลล์ หรือเนื้อเยื่อในร่างกาย แล้วถูกเปลี่ยนให้เป็นกรดยูริก โดยปกติร่างกายจะมีระดับกรดยูริกในเลือด ไม่สูงกว่า 7 มิลลิกรัม ในเลือด 100 มิลลิลิตร เนื่องจากมีระบบควบคุมการสร้างและการกำจัดกรดยูริกอย่างสมดุล กรดยูริกจะถูกขับออกทางไต 2 ใน 3 ของที่ร่างกายสร้างขึ้น อีกส่วนหนึ่งจะขับออกทางน้ำลาย น้ำย่อย และน้ำดี ซึ่งจะถูกทำลายโดยแบคทีเรียในลำไส้

ภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเกิดขึ้นได้อย่างไร สาเหตุของภาวะกรดยูริกในเลือดนั้น มักไม่ทราบแน่ชัด โดยทั่วไปมีปัจจัยมาจาก - ร่างกายสร้างกรดยูริกมากเกินไป เนื่องจากร่างกายไม่สามารถควบคุม การสร้างของกรดยูริกให้อยู่ในระดับปกติได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์หรือร่างกายได้รับสารโปรตีนจากอาหารมากเกินไป - ร่างกายขับกรดยูริกออกไม่ได้ดี จากโรคไตพิการ การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาขับปัสสาวะ ยารักษาวัณโรคบางชนิด เป็นต้น


โรคเก๊าท์ มีอาการอย่างไรบ้าง - ข้ออักเสบ เฉียบพลัน มีข้อบวมแดงและร้อน บางรายอาจมีไข้ ระยะแรก อาการ ข้ออักเสบ จะเป็นๆ หายๆ ถ้าไม่รับการรักษาต่อเนื่อง ข้ออักเสบจะกำเริบบ่อยๆ เป็นนานขึ้น และเป็นหลายข้อพร้อมกันได้ - ผู้ที่เป็น โรคเก๊า มานาน และไม่รับการรักษาให้ถูกต้อง จะมีการตกผลึกกรดยูริกเพิ่มมากขึ้น ตามข้อและเนื้อเยื่อต่างๆ ทำให้เป็นปุ่มก้อนใต้ผิวหนังได้ บริเวณที่พบได้บ่อย เช่น หลังเท้าและนิ้วเท้า ตาตุ่ม ข้อศอก นิ้วมือ ใบหู เป็นต้น ซึ่งลักษณะอาการนี้ มักพบในผู้ที่เป็น โรคเก๊าท์ มานาน และมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงมาก - อาการของโรคไตจากการเป็น โรคเก๊า มานาน อาจเกิดการสะสมของผลึกกรดยูริก จนเป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือเกิดผลึกกรดยูริกในเนื้อเยื่อของไต ก่อให้เกิดภาวะไตอักเสบเรื้อรัง และภาวะไตวายได้


ทราบได้อย่างไรว่าเป็น โรคเก๊าท์ โรคเก๊า อาการที่พบส่วนใหญ่จะมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อนตามข้อ และมักเกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว บารายอาจปวดรุนแรงมากในระยะแรกแล้วอาการปวดก็จะหายเอง แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาก็จะกลับมาเป็นอีก และจะอักเสบเรื้อรังไปตลอด ข้อที่ปวดนั้นพบได้ทุกส่วนแต่จะพบมากที่ข้อหัวแม่เท้า หรือนอกจากปวดตามข้อแล้ว อาจเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะออกมาเป็นเลือดได้ คุณจะรู้ว่าตนเองเป็น โรคเเก๊าท์ ก็ต่อเมื่อไปให้หมอตรวจเลือดและอาจเจาะเอาน้ำไขข้อไปตรวจอีกครั้งตามวิธีการทางการแพทย์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อมีอาการปวดบวมตามข้อโดยฉับพลัน หรือปวดข้อหนึ่งข้อใดเป็นๆหายๆ ควรพบแพทย์พื่อรับการตรวจน้ำไขข้อ หาผลึกกรดยูริก ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปเข็มเรียวยาวอยู่ในเม็ดเลือดขาว ถ้าตรวจพบจะเป็นการวินิจฉัย โรคเก๊าท์ ที่แน่นอน ส่วนผู้มีระดับกรดยูริกสูงอย่างเดียว แต่ไม่เคยมีอาการ ข้ออักเสบ เลย จะยังไม่ถือว่าเป็น โรคเก๊า


การรักษา โรคเก๊าท์ มีอะไรบ้าง ปัจจุบันการรักษา โรคเก๊า ได้ผลดี ทั้งนี้จุดมุ่งหมายของการรักษาคือ ควบคุมระดับของกรดยูริกในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ มีดังนี้ - การรักษาอาการ ข้ออักเสบ เฉียบพลันเพื่อลดการอักเสบและอาการปวดบวมของข้อ และป้องกันการอักเสบกำเริบของข้อ - ควบคุมหรือลดระดับกรดยูริกในเลือดให้อยู่ระดับปกติ ซึ่งอาจเป็นยายับยั้งการสร้างกรดยูริกของร่่างกาย หรือยาที่ช่วยขับกรดยูริกออกจากร่างกาย อนึ่ง โรคเก๊าท์ ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่สามารถควบคุมโรคได้อย่างดี โดยรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และรับประทานยาตามแพทย์กำหนด เพื่อป้องกันการเกิด ข้ออักเสบ ซ้ำอีกและภาวะแทรกซ้อนจากการตกผลึกของกรดยูริกในอวัยวะต่างๆ หรือไม่ให้เกิดความพิการของข้อได้ นั่นเอง


โรคเก๊าท์ ทำไมมีอาการ ปวดข้อ จังเลย หากคุณเป็นผู้หนึ่งที่เป็น โรคเก๊า จะมีอาการปวดข้อ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดนั้นมักจะเกิดจากหลังรับประทานอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ อาหารประเภทหมักดอง ดื่มแอลกอฮอล์ บางรายเกิดจากความเครียด ทั้งนี้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา โรคเก๊าท์ ก็จะทำให้คุณมีอาการปวดรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการปวดแบบเรื้อรัง อาการเป็นแบบเป็นๆ หายๆ อยู่อย่างนี้ตลอดเวลา และจะเพิ่มระยะการปวดมากขึ้นอีกด้วย ทั้งนี้ โรคเก๊า หากปล่อยไว้นานวันเข้าอาจจะพบว่ามีก้อนหรือปุ่มเกิดขึ้นตามตัว นอกจากนี้อาจเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ และหากพบว่ากรดยูริกที่ตกตะกอนสะสมในเนื้อไตมากๆ ก็จะทำให้ไตที่มีหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายเสียไป ทำให้เกิดการคั่งค้างและถึงแก่ชีวิตได้ในที่สุด


โรคเก๊า ผู้ป่วยไม่ควรรับประทานอาหารประเภทใดบ้าง ผู้ป่วย โรคเก๊าท์ ควรระมัดระวังเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ ไม่ใช่อยากกินอะไรก็กิน ดังนั้นผู้ป่วย โรคเก๊าท์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทสัตว์ปีกทุกชนิด งดอาหารประเภทเครื่องในสัตว์ เนื่องจากกรดยูริกเป็นส่วนหนึ่งของสารพิวรีนที่พบมากในตับ ไต สมอง หัวใจและกระเพาะอาหารของสัตว์ ต้องงดเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ทุกชนิด เนื่องจากจะทำให้ไตไม่สามารถขับกรดยูริกออกจากร่างกายโดยทางเดินปัสสาวะได้ดี จึงทำให้เกิดการสะสมมากขึ้น และควรทำจิตใจให้สงบ พยายามทำความเข้าใจว่า โรคเก๊าท์ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุม โรคเก๊า ได้โดยการดูแลเอาใจใส่ตนเองให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดภาวะโรคอื่นแทรกซ้อนได้ และต้องระวังเรื่องน้ำหนักตัว อย่าให้อ้วนโดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดกรดในเลือดมากได้ และไม่ควร ลดน้ำหนัก หรือ ลดความอ้วน เร็วเกินไป พยายามดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อทำให้เกิดการขับกรดยูริกออกจากร่างกายโดยทางปัสสาวะมากขึ้น นั่นเอง ผู้ป่วย โรคเก๊า ควรหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะในช่วงที่ ข้ออักเสบ เนื่องจากมีพิวรีนสูง ได้แก่ สัตว์ปีกทุกชนิด เครื่องในสัตว์ อาหารไขมัน ของหวานมาก หอย กุ้ง ไข่ปลา น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ซุปก้อน กะปิ เป็นต้น


โรคเก๊าท์ ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารประเภทใดบ้าง ผู้ป่วย โรคเก๊า ควรให้ความใส่ใจเรื่องอาหารการกิน อาหารประเภทใดควรกินหรือไม่ควรกินจำเป็นต้องรู้ อาหารที่ผู้ป่วย โรคเก๊าท์ ควรรับประทานเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานที่เพียงพอในการทำกิจกรรมและไม่ต้องเผาผลาญโปรตีนที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อมาก เนื่องจากการเผาผลาญโปรตีนในลักษณะนี้จะทำให้มีการสลายกรดยูริกออกมาในกระแสเลือดมากขึ้น นั่นคืออาหารจำพวกข้าวและแป้ง นั่นเอง และอาหารที่ควรงด ไม่ควรกินเลยก็ว่าได้ก็คืออาหารที่มีพิวรีนสูง เนื่องจากเมื่อรับประทานเข้าไปมากๆ จะยิ่งไปทำให้ โรคเก๊าท์ มีอาการกำเริบหนักกว่าเดิมและมีอาการ ปวดข้อ ปวดกระดูก มากยิ่งขึ้น อาหารที่ผู้ป่วย โรคเก๊า ควรรับประทานก็ได้แก่ อาหารที่มีพิวรีนต่ำ เช่น ผัก ผลไม้ต่างๆ ธัญพืชต่างๆ นมพร่องมันเนย อาหารที่มีพิวรีนต่ำปานกลาง ได้แก่ ข้าวโอ๊ต เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากะพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลันเตา หน่อไม้ฝรั่ง ขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม เป็นต้น

ผู้ป่วย โรคเก๊าท์ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

เมื่อคุณรู้แน่ชัดว่าตนเองเป็น โรคเก๊า จริงๆ ควรฝึกตนเองให้มีระเบียบวินัยในการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยให้สุขภาพของคุณแข็งแรงอยู่เสมอ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสุขภาพโดยรวม ดังนี้ - ที่สำคัญที่สุด คือ การรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้ง โรคเก๊าท์ และโรคประจำตัวอื่นๆ ให้รับประทานยาตามกำหนด ถ้ามีอาการผิดปกติให้ปรึกษาแพทย์ทันที ผู้ป่วย โรคเก๊า มักมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคทางระบบประสาท โรคเบาหวาน เป็นต้น - หยุดพักการใช้ข้อระยะที่มีการอักเสบ หลีกเลี่ยงการบีบนวด จะทำให้ ข้ออักเสบ เพิ่มมากขึ้น และหลีกเลี่ยงการใช้ความร้อน และความเย็นประคบ บริเวณข้อ ในขณะที่มีการอักเสบ - รับประทานอาหารโปรตีนในปริมาณที่พอเหมาะ หลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่เป็นอาหารแสลง กระตุ้นให้เกิดข้ออักเสบทุกครั้งที่รับประทาน ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล เช่น เครื่องในสัตว์ น้ำซุปกระดูกสัตว์ เป็นต้น และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด เช่น เบียร์ สุรา ไวน์ บรั่นดี เป็นต้น - ดื่มน้ำมากๆ 2-3 ลิตร ต่อ วัน เพื่อเร่งขับกรดยูริกทางไต และป้องกันการตกผลึกกรดยูริกตกค้างในไต - หลีกเลี่ยงอากาศเย็น โรคเก๊าท์ มักมีอาการกำเริบเวลาอากาศเย็น และเวลากลางคืน - ลดน้ำหนัก หรือ ลดความอ้วน ในผู้ป่วย โรคเก๊า ที่อ้วน เพื่อลดการรับน้ำหนักของข้อ และป้องกันไม่ให้ ข้ออักเสบ - เมื่อมีอาการหรือสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ก้อนหรือปุ่ม ปวดเอวหรือปวดท้อง ปัสสาวะเป็นเลือด ควรรีบพบแพทย์ก่อนนัด - ดำเนินชีวิตอย่าให้เคร่งเครียดมากนัก ทั้งนี้ผู้เขียนขออนุญาตแนะนำให้ผู้ป่วย โรคเก๊า ไม่ควรปล่อยให้ตนเองอ้วนเนื่องจากเมื่อตนเองอ้วน ก็จะมีผลทำให้น้ำหนักตนเองลงไปกดทับข้อทำให้ ข้อเสบ ก็จะเกิดอาการเจ็บปวดขึ้นมาได้ ดังนั้น ควร ลดน้ำหนัก หรือ ลดความอ้วน พยายาม ควบคุมน้ำหนัก ให้พอดี พยายามออกกำลังกายเป็นประจำทุกวันเพื่อให้ร่างแข็งแรง อาหารการกินก็ต้องควบคุมให้ดี แนะนำให้ทานอาหารประเภทที่มีเส้นใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ อาหารที่มีเส้นใยสูงจะไม่ทำให้ผู้ป่วย โรคเก๊า ไม่อ้วนแล้วยังมีผลทำให้การ ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้อ้วน นั่นเอง ผลพลอยได้จากการทานอาหารที่มีเส้นใยสูงก็คือ ช่วย ดีท็อก ลำไส้ ทำให้ขับถ่ายได้ดีอีกด้วย

เครดิต : ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ


แนะนำ ผลิตภัณฑ์ดูแล โรคกระดูก OSTO ที่ได้รับความนิยม การยอมรับจากผู้ใช้ทั่วประเทศ ใช้แล้วเห็นผลลัพธ์ดีจริงๆ


ดู 127 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page